วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

พระสมเด็จ เพดานโบสถ์วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่๑




พระสมเด็จ ชุดเพดานโบสถ์วัดระฆัง เนื้อมวลสารแบบปูนนุ่ม ลงรักชาด(แดงดำ)ค่อนข้างหนามีปิดทองเล็กน้อย บางส่วน รักชาดที่เคลือบรักษาเนื้อพระไว้น่าจะได้ทำหลังจากพระแห้งสนิทดีแล้ว เมื่อผ่านกาลเวลามาจึงร่อนหลุดได้ไม่ยากแต่ก็มีส่วนที่แทรกซึมเข้าไปตามซอกโดยเฉพาะที่ขอบองค์พระที่ยังฝังติดอยู่

พระสมเด็จ เพดานโบสถ์วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่๒




พระสมเด็จ ชุดเพดานโบสถ์วัดระฆัง เนื้อมวลสารแบบปูนนุ่ม ลงรักชาด(แดงดำ)ค่อนข้างหนามีปิดทองเล็กน้อย บางส่วน รักชาดที่เคลือบรักษาเนื้อพระไว้น่าจะได้ทำหลังจากพระแห้งสนิทดีแล้ว เมื่อผ่านกาลเวลามาจึงร่อนหลุดได้ไม่ยากแต่ก็มีส่วนที่แทรกซึมเข้าไปตามซอกโดยเฉพาะที่ขอบองค์พระที่ยังฝังติดอยู่

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระหินพระธาตุ เขาสามร้อยยอด

     หินพระปัจเจก เขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้นำมาแกะเป็นพระพุทธองค์เล็กองค์ใหญ่ มีความแตกต่างของเนื้อหินในแต่ละถ้ำแต่ละที่ มีลักษณะเฉพาะตัว มีความสวยงามแบบธรรมชาติสร้าง มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวโดยไม่ต้องนำมาปลุกเสกอีก ก็อาราธนามาห้อยคอ บูชาได้เลย





พระหินข้าวสารดำพันปี

     พระหินข้าวสารดำพันปี แกะจากหินข้าวสารที่จับตัวกลายเป็นฟอสซิส ฝังตัวอยู่เป็นเนื้อเดียวกับหินจะด้วยการทับถมกันจนกลายเป็นหินที่เป็นลักษณะทางธรณีวิทยา หรือจะด้วยอำนาจฌานสมาบัติของผู้มีฤทธิ์ไม่อาจทราบได้ แต่วัตถุธาตุชนิดนี้มีกายสิทธิ์อยู่ในตัว ได้นำมาแกะเป็นพระพุทธยิ่งเพิ่มพลังอิทธิคุณมากขึ้น





วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระร่วงนั่ง สุโขทัย

     พระร่วงนั่ง สุโขทัย เป็นพระพิมพ์เนื้อดิน วรรณะดำปนน้ำตาล พุทธลักษณะเป็นศิลปสุโขทัย ปางมารวิชัย ดูคล้ายกับพระร่วงหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม



วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลวงพ่อเงิน บางคลาน

     หลวงพ่อเงิน บางคลาน ที่เรารู้จักกัน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่อยู่ในคณะพระอภิญญาใหญ่ ในยุคสมัยรัชกาลที่5 ซึ่งพระสกุลวังที่จัดสร้างขึ้นมีรูปหล่อของท่าน ที่แกะแม่พิมพ์โดยช่างหลวง ซึ่งข้อมูลหลักฐาน ผู้ที่แกะแม่พิมพ์คือกรมหมื่นภูมินทรภักดี ซึ่งกำกับกรมช่างสิบหมู่และจัดสร้างขึ้นที่กรุงเทพฯ นี้เอง
     จากที่มีโอกาสได้สนทนากับท่านผู้รู้ ท่านได้บอกเล่าให้ฟังว่าเดิมทีหลวงพ่อเงินท่านบวชที่วัดชนะสงคราม กรุุงเทพฯ ภายหลังต่อมาท่านจึงขึ้นไปอยู่ที่พิจิตร ท่านมีสายสัมพันธ์กับกรมพระราชวังหน้า และกับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังด้วย
     รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง มีหลายพิมพ์และหลายเนื้อด้วยกัน


หลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง(พิมพ์ใหญ่)




หลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง เนื้อผงคลุกรักปิดทอง


 พิมพ์ช่างหลวง เนื้อผงวิเศษ ลงรักปิดทอง



เหรียญหลวงพ่อเงิน บางคลาน

    เหรียญหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง บ้างเรียกว่า เหรียญใบพุทรา เป็น เหรียญหล่อแบบโบราณ ทรงรี หูตันแต่เจาะรูภายหลังจากหล่อเสร็จ เท่าที่พบเห็นสัมผัสมา พิมพ์จะไม่ค่อยคมชัดนัก ที่ติดหน้าติดตาไม่ค่อยจะได้เห็น มีเนื้อทองผสมออกจะเหมือนสีของทองดอกบวบ และเนื้อชินซึ่งพบเห็นน้อย ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อนั่งขัดสมาธิ และอักขระ มะ อะ อุ ส่วนด้านหลังเป็นยันต์เอกลักษณ์ประจำตัวของหลวงพ่อ
     ก่อนหน้าเหรียญนี้ไม่มีคนรู้จัก อาจรู้ก็เพียงว่าเป็นเหรียญหลวงพ่อเงินและทันยุคท่าน มีแต่คหบดีและข้าราชการชั้นสูงสมัยก่อนในเมืองพิจิตรที่รู้และเก็บกันเงียบ จนต่อมามีนิตยสารนำมาลงจึงรู้จักแพร่หลายและเล่นหากัน
     แม้กระนั้นก็เพียงแต่รู้ว่าเป็นเหรียญหลวงพ่อเงิน บางคลาน ไม่รู้ว่าประวัติที่แท้จริงว่าเป็นเหรียญที่ออกแบบโดยช่างหลวง และดำริจัดสร้างโดยวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่5




เหรียญเนื้อชิน หายากมาก

 

อ้างอิง : หนังสือพระสมเด็จ วังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง โดย มัตตัญญู



พระหลวงปู่ศุข ปากคลองมะขามเฒ่า

     หลวงปู่ศุข ท่านเป็นพระอภิญญาที่มากด้วยวิชาอาคม มีเรื่องราวปาฏิหาริย์มากมาย เสด็จในกรมฯ บิดาแห่งราชนาวีไทย (กรมหลวงชุมพรฯ) ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ และนิมนต์หลวงปู่มายังเมืองบางกอกอยู่บ่อยๆ
     หลวงปู่ศุข ท่านเป็นหนึ่งในพระคณะอภิญญาใหญ่ ในยุคสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าพระสกุลวัง เหตุใดพลังอิทธิคุณในองค์พระจึงมากมายและครบทุกด้าน ครอบจักรวาล
     ในส่วนของวัตถุมงคลที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก และแจกชาวบ้านชาวช่องและศรัทธาญาติโยม ในละแวกท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ โดยส่วนใหญ่ได้ใช้ตะกั่วมาเป็นวัตถุมวลสารหลัก ชาวบ้านที่มีฝีมือช่วยกันแกะแม่พิมพ์ บ้างก็ช่วยกันเทตะกั่วลงในเบ้าพิมพ์ ซึ่งมีมากมายหลายพิมพ์และทำกันหลายวาระโอกาส จนสุดท้ายได้ช่างหลวงแกะแม่พิมพ์ด้วยการอำนวยการของเสด็จในกรมฯ ความลงตัวปรากฏออกมาอย่างสวยงาม เป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน ดังเช่น พิมพ์รัศมีประภามณฑล
     ในยุคแรกๆของการสร้างด้วยเป็นพระขนาดเล็ก จึงมีพระจำนวนมาก เพราะสร้างทีเป็นแผงแล้วนำมาตัดเป็นองค์พระตามขนาดปริมณฑลโดยใช้สิ่วช่วยกัน ตัด ชาวบ้านศรัทธาญาติโยม ที่ทำบุญ บ้างช่วยงานวัด ต่างได้รับกันมาอยู่เสมอๆและหลายบ้านก็เก็บไว้ในกระป๋องนมบนหิ้งบูชาพระ นานวันจนแทบจะลืม
     นับจนปัจจุบันมีผู้รู้จริงเรื่องพระของหลวงปู่น้อยมาก ผู้เขียนอาศัยได้ศึกษาหาความรู้จากคนเก่าคนแก่ในท้องถิ่นท้องที่นั้น มีโอกาสได้สัมผัสของจริงจากที่ผู้เฒ่าผู้แก่เก็บงำไว้ พอได้รับความรู้มาบ้าง บางครั้งได้พระของหลวงปู่มาก็ให้ท่าน(ที่น่าจะเรียกว่าสายตรงจริงๆ)ช่วย กรุณาตรวจสอบให้ จึงเก็บเล็กเก็บน้อยวิชาความรู้ จนพออาศัยสายตาตัวเองได้บางครั้งบางคราว ซึ่งก็มิได้ศึกษาพระแต่ทางหูอย่างเดียว ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนในแนวทางการศึกษาพระเครื่องจึงเป็นคำตอบสุดท้าย เป็นการศึกษา บูชาและสะสมอย่างมีความสุขอย่างที่ควรจะเป็น ไม่ใช่มีแล้วเดือดร้อนใจวิ่งหาคนช่วยตรวจสอบให้ซึ่งมีทั้งรู้จริงและรู้แบบ กลัวเสียฟอร์ม สร้างความเคลือบแคลงใจ สูญเสียมวลของใจ แถมพลาดโอกาสอันดีก็มี
     ส่วนใหญ่พระหลวงปู่ศุขสำหรับคนเบี้ยน้อย ที่มีโอกาสได้พบจะเป็นพระที่เรียกว่าออกทางวัดสาขา วัดลูกศิษย์ของท่าน เช่น ออกที่วัดหัวหาด วัดส้มเสี้ยว วัดหาดอาสา วัดศรีสวรรค์ เป็นต้น แต่ก็ทันยุคสมัยให้ท่านได้ปลุกเสกอธิษฐาน เพียงแต่เป็นวาระเพื่อการบุญการกุศลของวัดนั้นๆ ซึ่งบางส่วนบางพิมพ์คนไม่รู้จัก หรือไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่คนชอบเล่นหาที่เรียกว่าพิมพ์นิยมเพราะมูลแห่งค่าความนิยมสูง โอกาสหลุดรอดสายตามายังคนเดินดินจึงเป็นไปได้ยาก หากพบเห็นก็มักไม่ใช่ พระของหลวงปู่ศุขแม้แต่ออกทางวัดอื่นที่ไม่ใช่วัดปากคลองฯก็ใช่ว่าจะพบเห็น ของแท้ได้ง่ายๆ เก๊ทำเลียนแบบมาก็เยอะแยะไป เนื้อหาพิมพ์ทรงเป็นอย่างไรลองใช้วิจารณญาน ชมกันดูนะครับ